Nov 28, 2007

“Political Economy”การเมืองเรื่องของเศรษฐศาสตร์




ช่วงเวลาสองสามอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมนั่งอ่านบทความวิชาการเกี่ยวกับ Political Economy หลายเรื่องครับ โดยทั่วไปแล้วสำนึกของนักเรียนเศรษฐศาสตร์มองเรื่อง Political Economy เป็นเรื่องไกลตัว เพราะไม่ค่อยมีโมเดลประหลาดหรือกราฟพิสดารสักเท่าไร

อย่างไรก็ตามวิชาเศรษฐศาสตร์ในช่วงที่ภูมิปัญญายุโรปเบ่งบานนั้นก็ถือกำเนิดมาจาก Political Economy เนี่ยล่ะครับ ด้วยความที่เศรษฐกิจกับการเมืองมันมีความใกล้ชิดกันอย่างมาก จะเห็นได้จากหนังสือคลาสสิคทางเศรษฐศาสตร์อย่าง The Wealth of Nation (1776) ที่เนื้อหาส่วนหนึ่งได้พูดถึงเรื่องบทบาทของภาครัฐในระบบเศรษฐกิจด้วย

ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 นั้น Political Economy นั้นถูกบดบังด้วยอิทธิพลของเหล่านักเศรษฐศาสตร์สาย Neoclassical หรือ สำนัก Cambridge school ภายใต้การนำของซือแป๋ อัลเฟรด มาร์แชล (Alfred Marshall) ที่เริ่มนำเอากราฟและสมการคณิตศาสตร์มาใช้อธิบายทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ จนทำให้ภาพของ Political Economy นั้นดูจางหายไป

อย่างไรก็ดีการศึกษา Political Economy ก็ยังคงมีอยู่ครับแม้ว่านักเรียนเศรษฐศาสตร์ด้านนี้จะถูกมองเป็นพวก “กระแสรอง” หรือ “นอกคอก”ก็ตามที

ผมเองมิได้สันทัดเรื่อง Political Economy เท่าใดนัก แต่สิ่งที่พอจะจับประเด็นได้ คือ Political Economy ได้กล่าวถึงบทบาทของรัฐบาลที่ควรจะเป็น (The proper role of government ) เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เหล่านักคิดล้วนถกเถียงกันตั้งแต่สมัยกรีกโบราณแล้ว

อย่างไรก็ตามดูเหมือนเราเองคงจะไม่สามารถปฏิเสธการดำรงอยู่ของรัฐและรัฐบาลได้ เพียงแต่ว่าเราจะให้คนที่มาเป็นตัวแทนเรานั้นใช้อำนาจอย่างไรให้ถูกที่ถูกทาง อย่างที่ผมเคยเล่าไปในเรื่อง “บัญญัติสิบประการ”ของ “ซีซิล บี เดอมิล” ( Cecil B. Demille)แล้วว่า มนุษย์เราเป็นเพียงสมบัติของรัฐ (Property of state) หรือ เป็นมนุษย์ที่ได้รับเสรีภาพจากพระเจ้า

ผมว่าแค่เรื่องถกกันถึงบทบาทของรัฐที่ควรจะเป็นนั้นก็เรียกว่าเขียนตำราออกมาชนกันได้หลายเล่มเลย สำหรับนักเศรษฐศาสตร์ในคอกแล้วมองว่ารัฐจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจเนื่องจากกลไกตลาดมันล้มเหลว (Market Failure) ซึ่งสะท้อนให้เห็น “มือที่มองไม่เห็น”ของอดัมส์ สมิธ (Adam Smith) นั้นไม่สามารถช่วยจัดสรรทรัพยากรได้มีประสิทธิภาพเหมือนที่เคย

อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์นอกคอกหลายสำนักกลับไม่เชื่อมั่นในการแทรกแซงของรัฐครับ พวกนอกคอกเหล่านั้นนำโดย สำนัก Public Choice ของ James M. Buchanan ซึ่งมองว่ารัฐบาล นักการเมืองก็เป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้เองการผลิตนโยบายอะไรขึ้นมาแต่ละอย่างมักถูกกำหนดโดยกลุ่มผลประโยชน์ (Interest group)

นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์สาย Neoclassical Poitical Economy ซึ่งหยิบเอาบทบาทของรัฐมาเป็นตัวแปรภายในร่วมวิเคราะห์ในระบบเศรษฐกิจ จนเป็นที่มาของคำว่า “Invisible foot” หรือ “เท้าที่มองไม่เห็น” คำๆนี้เป็นประดิษฐกรรมทางภาษาของ นายสตีเฟน มากี (Stephen Magee) ที่เชื่อว่าแทนที่รัฐจะเข้ามาช่วยให้สวัสดิการสังคมดีขึ้นกลับกลายเป็นว่าเข้ามาสร้างปัญหาและแสวงหาประโยชน์เข้าตัวเอง ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้อยู่ในกลุ่มที่เชื่อใน “ความล้มเหลวของรัฐ”หรือ Government failure ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงไม่ค่อยชอบเห็นรัฐเข้ามายุ่มย่ามกับเศรษฐกิจมากนัก

ผมคิดว่าข้อเขียนของอาจารย์ป๋วยเรื่อง “จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน”(2516) นั้นนับเป็นบทสรุปที่กระชับและชัดเจนอย่างยิ่ง ที่ท่านอาจารย์ป๋วยต้องการจะสื่อสารว่า “รัฐบาลนั้นควรจะมีบทบาทเช่นไรในการพัฒนาประเทศ” ซึ่งดูเหมือนเรียบง่ายไม่มีอะไรมากนัก แต่กลับกลายเป็นว่ารัฐบาลไทยทุกยุคทุกสมัยนั้นไม่มีใครสามารถทำได้

ผมไม่แน่ใจว่าความเรียบง่ายมันเป็นเรื่องที่ยากเกินไปหรือเปล่าสำหรับนักการเมืองไทย เพราะทุกวันนี้ผมนั่งฟังนักการเมืองต่างเร่ขายฝันกันเต็มไปหมด แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ค่อยพบในฝันเหล่านั้น คือ “ความเรียบง่าย”อย่างที่ปรากฏในข้อเขียนของอาจารย์ป๋วยเลย

ท้ายที่สุดผมมีงานวิจัยที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟังครับ งานวิจัยชิ้นนี้ทำโดย “สมตุ้ย” เด็กนวดบ่าในห้องน้ำชายของร้านเหล้าแห่งหนึ่ง ด้วยความที่แกสนใจพฤติกรรมการฉี่กับบุคลิกภาพลูกค้า แกเลยแอบสังเกตลูกค้าชาย 100 คนที่เข้ามายืนฉี่ที่โถ ผลการศึกษาบอกอย่างนี้ครับว่า

1.หนุ่มชอบสังคม เข้าห้องสุขาพร้อมกันหลายคน คนที่ไม่ปวดก็เข้าช่องยืนฉี่เป็นเพื่อนกันด้วย มักส่งเสียงคุยกันเสียงดังเหมือนตลาดสด ไม่ค่อยปกปิดสิ่งสงวน
2.หนุ่มขี้อาย ถ้ามีใครเดินเข้ามาฉี่ข้าง ๆ จะกดน้ำและเก็บช้างน้อยทันที เดินออกจากห้องสุขา แล้วค่อยกลับเข้าไปใหม่เมื่อปลอดคน
3.หนุ่มขี้ตกใจ ฉี่เป็นจังหวะสั้น ๆ พร้อมกลั้นหายใจ เหลียวมองคนรอบข้าง
4.หนุ่มสอดรู้สอดเห็น มองช้างน้อยของคนข้าง ๆ เปรียบเทียบกับตัวเอง ทำหน้าเศร้า
5.หนุ่มเปิดเผย ยืนห่างจากโถฉี่สองศอก ไม่ใช้มือบังช้างน้อย คุยเสียงดัง
6.หนุ่มซื่อตรง ไม่ใช้มือประคองช้างน้อย ฉี่ประทบจุดศูนย์กลางของโถอย่างต่อเนื่อง ความคลาดเคลื่อนต่ำกว่า ร้อยละ 0.5
7.หนุ่มมักง่าย หากโถฉี่ไม่ว่าง จะฉี่ใส่อ่างล้างหน้าแทน
8.หนุ่มขี้เล่น ฉี่โค้ง ฉี่สูงต่ำ ทดลองฉี่ข้ามไปโถข้าง ๆ
9.หนุ่มไม่รู้จักโต ฉี่แรง ๆ ไปที่ตะแกรงก้นโถพยายามทำให้เกิดฟองมาก ๆ
10.หนุ่มใจลอย ยืนชิดโถ ปลดเข็มขัด รูดซิปแล้วฉี่ราดชั้นใน
11.ทหารม้า ฟาดงวง ฟาดงา ใส่โถฉี่ หลังฉี่เสร็จ
12.หนุ่มประณีต ใช้กระดาษทิชชูซับเมื่อฉี่เสร็จ หรือเดินไปล้างที่อ้างหน้ามือ
13.คนไข้ ยืนฉี่นานกว่าปกติ เพราะรอให้แผ่นวัดน้ำตาลในเลือดแห้ง ยกเทียบกับชาร์ตสีข้างขวด
14.คนเมา ใช้มือขวาจับนิ้วโป้งด้านซ้าย เล็งตรงไปที่โถแล้วฉี่ราดกางเกง
15.คนขี้แพ้ ยืนนิ่งพักหนึ่ง รูดซิบลง ยืนนิ่งพักหนึ่งรูดซิปขึ้น สะอื้นไห้ แล้วเดินจากไปโดยไม่ได้ฉี่
16.คนเจ้าเล่ห์ ผายลมเงียบเชียบขณะฉี่ ทำหน้าไร้เดียงสา
17.แพทย์ ล้างมือ 1 ครั้ง เดินไปที่โถกดน้ำ 1 ครั้งฉี่กดน้ำ 2 ครั้ง ล้างมือด้วยสบู่ถึงข้อศอกนาน 2 นาที เช็ดช้างน้อยด้วยแอลกอฮอล์
18.จิตรกร จิตรกรรมฝาผนัง
19.สถาปนิก ฉี่สะพานโค้งกลมก้นหอยเกลียว
20.กวี เงียบเหงาเปล่าเปลี่ยวจนเยี่ยวหด บรรจงตดเบา ๆ อย่างเศร้าหมอง
21.ชายรักสนุก ทุกข์ถนัด ยืนถ่างขา หน้าผากชนฝาผนัง ฉี่แรกสะดุ้งโหยง น้ำตาร่วงหลังพวงมาลัย
22.นักการเมือง ประชาธิปไตยอยู่ในมือท่านแล้ว ลองก้มดูสิ

ปล. งานวิจัยชิ้นนี้อ้างอิงมาจากForward mail ครับ อ้อ! แล้วก็อย่าลืมนะครับว่าวันที่ 23 ธ.ค. นี้ “ประชาธิปไตยอยู่ในมือท่าน” แล้วครับ

Hesse004

1 comment:

Unknown said...

ขึ้นต้นเป็นมะลิซ้อน
พอแตกใบอ่อนเป็นมะลิลา

งานวิจัยตอนท้ายมันกลายเป็นดอกชบามากกว่ามะลิลานะนี่ ^ ^